วันจันทร์ที่ 17 - 28 ส.ค. พ.ศ. 2563
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังเกตสู่สร้างสรรค์
สาระสำคัญ
สีเป็นสิ่งที่สำคัญสามารถระบายให้ภาพมีความเหมือนจริงหรือสดใสเกินจริง ด้วยการใช้เทคนิคการใช้สีต่างๆ เช่น สีเทียน สีไม้ สีน้ำ สีโปสเตอร์ เป็นต้น
กระบวนการจัดการเรียนรู้
นักเรียนทราบหรือไม่ว่าภาพที่นักเรียนเห็นเป็นภาพที่เกิดจากการใช้สีประเภทใด
ซึ่งสีแต่ละชนิดจะให้ความรู้สึกและพื้นผิวที่ต่างกัน สีไม้เมื่อระบายแล้วจะเห็นเป็นลายเส้นที่สวยงาม สีน้ำให้ความชุ่มฉ่ำและลีลาของรอยพู่กันในการปาดสีในขณะที่สีเทียนให้ความรู้สึกที่สว่างสดใน เมื่อระบายสีลงไปในภาพจะเห็นพื้นผิวที่ชัดเจน ส่วนสีโปสเตอร์จะมีเนื้อสีที่เข้มข้นนุ่มนวลแต่หนักแน่น เป็นต้น
ประเภทของสีที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังต่อไปนี้
ลักษณะของสี ประเภท สีไม้
เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอ เพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก เนื่องจากมีส่วนผสม อื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำ หรือน้ำมันได้ โดยเมื่อใช้ ดินสอสีระบายสีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิด สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้
สีดินสอ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. ชนิดที่ระบายน้ำไม่ได้ เป็นสีดินสอที่มีลักษณะไส้เหมือนดินสอดำโดยทั่วไป ต่างกันที่ไส้เป็นสีต่างๆ เท่านั้นเมื่อนำพู่กันจุ่มน้ำมาละลายที่ไส้ สีจะไม่ละลายออกมา วิธีการใช้จึงนำมาขีดเขียนสีที่ต้องการลงไปในชิ้นงานโดยตรง
2. ชนิดที่ระบายน้ำได้ เป็นดินสอสีที่ผลิตขึ้นให้มีลักษณะพิเศษกว่าดินสอสีชนิดแรก คือสามารถนำพู่กันจุ่มน้ำมาละลายสีที่ไส้ดินสอให้ติดออกมาแล้วนำไประบายภาพได้ หรือเมื่อเขียนสีลงไปบนภาพแล้วสามารถนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายสีที่เขียนลงไปบนภาพแล้วได้อีกด้วย ภาพที่ได้จะเหมือนภาพระบายด้วยสีน้ำ
การระบายสีไม้
สีไม้เป็นสีพื้นฐานที่ใช้ฝึกวาดรูป และใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจาก
- สามารถควบคุมพื้นที่ในการระบายได้ดีกว่า สีเทียน สีชอร์ก สีน้ำประเภทต่างๆ
- สามารถควบคุมพื้นที่ในการระบายได้ดีกว่า สีเทียน สีชอร์ก สีน้ำประเภทต่างๆ
- ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมเช่นเดียวกับสีน้ำ
- พกพาสะดวก
- พกพาสะดวก
เทคนิคการระบายสีไม้
1.เหลาปลายดินสอให้แหลมดินสอสีไม้ที่แหลมจะช่วยให้เป็นเส้นควบคุมการระบายได้แสดงเอกลักษณ์ของสีไม้ ภาพคม พกที่เหลาดินสอพร้อมกับการเปลี่ยนด้านของการขีดเส้นต่อไปฝึกฝนให้เป็นความเคยชิน
2.ระบายให้เป็นเส้นไว้ก่อนในครั้งแรก ส่วนใหญ่ เรา จะระบายสีไม้ให้เต็มเนื้อกระดาษตั้งแต่ครั้งแรกจนภาพโดยรวมดูเหมือนผลไม้ช้ำโดยเหลือพื้นที่ของกระดาษช่วยให้ภาพมีมิติมากกว่าการระบายให้ทึบทั้งหมด และยังช่วยให้เหลือพื้นที่กระดาษสีขาวในการจะระบายสีครั้งต่อๆ ไป เพื่อแก้ไขความไม่สม่ำเสมอของสีเดิม หรือผสมสีใหม่ให้เกิดมิติ แสงเงา และความสวยงามได้มากยิ่งขึ้น
3.การระบายสีให้สม่ำเสมอโดยระบายเป็นพื้นที่เล็กๆในการระบายสีไม้ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ สีไม่สม่ำเสมอ ควบคุมได้ยาก วิธีแก้ปัญหานี้คือการพยายามระบายให้เป็นเส้นสั้นๆ ทีละน้อย เราจะค้นพบว่าช่างดูน่าเบื่อ และน่าจะระบายได้ช้ากว่า แต่ในความเป็นจริง เมื่อเราระบายพื้นที่เล็กๆจะช่วยให้เราเปรียบเทียบสีกับพื้นที่ที่เราเพิ่งระบายไป ทำให้กำหนดน้ำหนักมือได้ใกล้เคียงกว่าการระบายเป็นเส้นยาวๆ และนำมาตบให้เรียบๆ เท่ากันภายหลังได้ยาก และเสียเวลามากกว่า
4. การผสมสี
- ผสมสีโดยใช้สีที่แตกต่างกัน ระบายเป็นเส้นให้เหลือเนื้อกระดาษสีขาว ไว้สำหรับสีที่สองที่จะระบายลงไป เช่นสีน้ำเงิน ระบายทับด้วยสีเหลือง จนได้สีเขียว ที่มีมิติมากกว่า การระบายสีเขียวโดยตรงเพียงอย่างเดียว
- การระบายสี โดย ใช้สีที่อ่อนกว่า หรือเข้มกว่า ระบายทับในส่วนที่แสดง แสงและเงา
เทคนิคการระบายสีไม้
สำหรับเด็กที่ต้องการฝึกฝนการวาดรูป ดินสอสีไม้ ดูจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ในการทำงานของผู้ใหญ่เองก็จะใช้สีไม้ สีไม้เป็นสีพื้นฐานที่เด็กจะใช้ฝึกวาดรูป และใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจาก
• สามารถควบคุมพื้นที่ในการระบายได้ดีกว่า สีเทียน สีชอร์ก สีน้ำประเภทต่างๆ
• ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมยุ่งยากเช่นเดียวกับสีน้ำ
• พกพาสะดวก
• ระบายให้เป็นเส้นไว้ก่อนในครั้งแรก ส่วนใหญ่ เรา จะระบายสีไม้ให้เต็มเนื้อกระดาษตั้งแต่ครั้งแรก จนภาพโดยรวมดูเหมือนผลไม้ช้ำ โดยเหลือพื้นที่ของกระดาษ ช่วยให้ภาพมีมิติ มากกว่าการระบายให้ทึบทั้งหมด และยังช่วยให้เหลือพื้นที่กระดาษสีขาวในการจะระบายสีครั้งต่อๆ ไป เพื่อแก้ไขความไม่สม่ำเสมอของสีเดิม หรือผสมสีใหม่ให้เกิดมิติ แสงเงาและความสวยงามได้มากยิ่งขึ้น
• การระบายสีให้สม่ำเสมอโดยระบายเป็นพื้นที่เล็กๆ ในการระบายสีไม้ ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ สีไม่สม่ำเสมอ ควบคุมได้ยาก วิธีแก้ปัญหานี้คือการพยายามระบายให้เป็นเส้นสั้นๆ ทีละน้อย เราจะค้นพบว่าช่างดูน่าเบื่อ และน่าจะระบายได้ช้ากว่า แต่ในความเป็นจริง เมื่อเราระบายพื้นที่เล็กๆจะช่วยให้เราเปรียบเทียบสีกับพื้นที่ที่เราเพิ่งระบายไปทำให้กำหนดน้ำหนักมือได้ใกล้เคียงกว่าการระบายเป็นเส้นยาวๆ และนำมาตบให้เรียบๆ เท่ากันภายหลังได้ยาก และเสียเวลามากกว่า
ลักษณะของสี ประเภท สีน้ำ
เป็นสีที่มีคุณสมบัติโปร่งใส ใช้น้ำเป็นตัวละลายเนื้อสี เวลาใช้ต้องผสมกับน้ำ สีน้ำมีทั้งที่บรรจุอยู่ในหลอดคล้ายยาสีฟัน และชนิดแห้งเป็นแท่งที่บรรจุอยู่ในกล่องเป็นชุด
คุณสมบัติของสีน้ำ
1.ลักษณะโปร่งใส( Transparent Quality )
เนื่องจากสีน้ำมีส่วนผสมของกาว และสีที่บดอย่างละเอียด ดังนั้น เมื่อระบายน้ำบนกระดาษสีขาวจึงมีเนื้อที่ไม่หนาทึบจนเกิดไป ทำให้เกิดลักษณะโปร่งใส และการระบายสีน้ำจะต้องระบายไปทีเดียว ไม่ระบายซ้ำกัน เพราะจะทำให้สีช้ำหรอหม่นได้ และควรระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณ๊อาจจะระบายจากสีแก่ไปหาอ่อนก็ได้ ทั้งนี้ต้องคอยระวังอย่าให้น้ำที่ใช้ผสมสีขุ่นหรือคล้ำ เพราะจำทำให้สีหม่นหรือทึบได้
2. ลักษะเปียกชุ่ม( Soft Quality )
เนื่องจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับน้ำและระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลืนกัน ดังนั้น เมื่อระบายไปแล้วลักษณะของสีที่แห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชุ่มของสี ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ และในบางกรณีที่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สีแห้งไปเอง ก็จะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏให้เห็น ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยิ่งศิลปินสีน้ำท่านใดสามารถสร้างสรรค์ให้คราบนั้นน่าดูและมีความหมายขึ้น ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษของสีน้ำที่มีค่าควรชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง
3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
3.สีน้ำมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว
เมื่อเทียบกับสีน้ำมัน ดังนั้นจึงทำให้เกิดความเชื่อต่อผู้สนใจทั้งหลายว่า เป็นสื่อที่ระบายยาก และเหมาะสำหรับผู้ที่สามารถตัดสินใจรวดเร็วในการถ่ายทอดเท่านั้น อย่างไรก็ดีความเชื่อดังกล่าวอาจแก้ไขได้ ด้วยการลงมือทำจริง เพราะเหตุว่า การระบายสีน้ำมีวิธีระบายหลายวิธี และเราสามารถควบคุมคุณสมบัติแห้งเร็วนี้ได้ ด้วยการผสมกลีเซอรีนลงในน้ำผสมสีก็จะช่วยให้แห้งช้าได้
4.สีน้ำมีคุณสมบัติรุกรามและยอมรับ( Advance, Receda )
ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับเนื้อสีและสารเคมีที่ผสมซึ่งผู้สนใจจะต้องสอบทานด้วยตนเองว่าสีใดที่มีคุณสมบัติรุกรานสีอื่น หรือสีใดยอมให้สีอื่นรุกราน และสีใดที่ติดกระดาษแน่นล้างน้ำไม่ออก ( Stained Color )
เทคนิคการระบายสีน้ำ
สีน้ำ (Water Color) มีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานหลายวิธี แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนกันในโรงเรียนเท่านั้น ดังนี้
เทคนิคผสมสีและการระบายสี
เปียกบนเปียก
การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
1.การไหลซึม
2.การไหลย้อน
เปียกบนแห้ง
การระบายแบบเปียกบนแห้ง หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี ส่วนแห้ง คือ แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง เป็นวิธีระบายทั่วไป ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1.ระบายเรียบสีเดียว
2.ระบายสีอ่อนแก่เรียบสีเดียว
3.ระบายเรียบหลายสี
แห้งบนแห้ง
การระบายแบบแห้งบนแห้ง หมายถึง การระบายสีที่ใช้พู่กันจุ่มสีน้อย แล้วระบายอย่างรวดเร็วบนกระดาษ การระบายสีแบบนี้ ผู้ระบายมักจะบันทึกความรู้สึกของตนลงไปในขณะระบายด้วย การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีประโยชน์ในการที่จะเน้นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือบริเวณที่เห็นว่า ควรทำให้เด่นได้ บางท่านก็ให้ความเห็นว่า ผลอันเกิดจากการระบายแห้งบนแห้ง คล้ายกับการเขียนชวเลข หรือการส่งโทรเลข กล่าวคือ มีข้อความสั้นๆ ชัดเจน กะทัดรัด และรวดเร็ว การระบายแบบแห้งบนแห้ง มีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ
1.การแตะ
2.การป้าย
3.เทคนิคผสม
ระบายบนระนาบรองรับ
เทคนิคการระบายสีทั้ง 3ประเภทดังกล่าวไปแล้ว เป็นการระบายบนกระดาษวาดเขียน และกระดาษต่างชนิดกัน ไม่ได้ปรุงแต่งลักษณะผิวแต่อย่างใด สำหรับการระบายบนระราบรองรับที่เตรียมไว้ เป็นการปรุงแต่งลักษณะผิวกระดาษให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อผลที่แปลกและน่าสนใจกว่า นอกจากนี้ยัง ช่วยสนองความต้องการของผู้สนใจสีน้ำที่ต้องการถ่ายทอดรูปแบบวัตถุให้คล้ายกับสิ่งที่มองเห็นหรือต้องการสร้างสรรค์รูปแบบให้ต่างไปจากเดิม
1. พู่กัน
2. จานสี
3. แก้วน้ำ
ลักษณะของสี ประเภท สีโปสเตอร์
สีโปสเตอร์ (Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป เรียกว่า “สีแป้ง”
การเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์เป็นงานจิตกรรมที่เป็นกระบวนการสืบเนื่องจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดียวกับการเขียนด้วยสีน้ำ คือเปลี่ยนจากการใช้ดินสอระบายน้ำหนักลงบนรูปร่าง รูปทรงที่วาด มาเป็นการใช้สีโปสเตอร์แทน
สีโปสเตอร์เป็นสีที่มีลักษณะขุ่นทึบ เนื้อสีมีลักษณะคล้ายแป้ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะของสีน้ำที่โปร่งใสไม่มีเนื้อสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกับสีน้ำตรงที่เมื่อจะใช้ในการระบายภาพวาดจะต้องผสมน้ำก่อน
การเขียนสีโปสเตอร์ สามารถระบายด้วยพู่กันซ้ำๆ ที่เดิมได้ ซึ่งแตกต่างจากสีน้ำ ถ้าระบายถูไปมาด้วยพู่กันซ้ำหลายๆ ครั้งจะทำให้สีช้ำ สกปรก กระดาษเป็นขุยดูไม่ใสสวย สำหรับสีโปสเตอร์ นอกจากการใช้พู่กันเกลี่ยสีซ้ำที่ได้แล้ว ยังนิยมผสมกับสีขาวเมื่อต้องการให้สีอ่อนลงมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณสีขาวที่ผสมลงไป และเมื่อต้องการให้ความจัดของสีหม่นลงหรือเมื่อต้องการให้สีนั้นมืดเข้มขึ้น ก็ให้ผสมด้วยสีดำตามปริมาณมากน้อยตามที่ต้องการ
(การเตรียมวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการฝึกปฏิบัติการเขียนภาพด้วยสีโปสเตอร์จะกระทำเช่นเดียวกับการเขียนภาพด้วยสีน้ำ)
การระบายสีโปสเตอร์ขั้นพื้นฐาน มีวิธีการระบายให้สีผสมผสานกลมกลืนกัน 2 วิธี ดังนี้
1. การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน
2. การระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี
ลักษณะของสี ประเภท สีเทียน
สีเทียน (encaustic) มีลักษณะเป็นสีเคลือบ เกิดจากสีแท้ของวัตถุธาตุผสมกับขี้ผึ้งซึ่งนำมาหลอมเข้าด้วยกัน โดยใส่ไว้ในแม่พิมพ์รูปแท่งขนาดเหมาะมือ หลังจากปล่อยให้ขี้ผึ้งผสมสีแห้งแล้วก็จะแข็งตัวเกิดเป็นแท่งสีขี้ผึ้ง ต่อมาเปลี่ยนจากการผสมระหว่างสีและขี้ผึ้งเป็นสีกับเทียนซึ่งมีราคาถูกกว่าจึงเรียกกันติดปากว่า สีเทียน สีเทียนมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่ละลายน้ำและน้ำมัน จึงไม่เปรอะเปื้อนมือเวลาใช้ เหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มหัดวาดภาพระบายสี เพราะแท่งสีเทียนหยิบจับได้สะดวก และง่ายต่อการระบายตลอดจนสามารถระบายสีทับซ้อนกันได้ด้วย
วิธีการใช้สีเทียน
การใช้สีเทียนมีวิธีการจับและเขียนเหมือนกับวิธีการจับดินสอดำเขียนหนังสือ ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับแน่นพอประมาณ โดยมีนิ้วกลางรองอยู่ใต้แท่งสีส่วนสองนิ้วที่เหลือวางรองอยู่ที่พื้นกับสันมือเพื่อลากเส้นยาวๆและฝนสีได้คล่องส่วนวิธีปาดเศษสีหักนั้นเหมาะที่จะใช้ปาดสีบนพื้นที่กว้างโดยใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางจับแท่งสี ส่วนนิ้วที่เหลือปล่อยอิสระแล้วคว่ำมือลงเพื่อปาดสีลงไปในภาพให้สวยงาม
วิธีการระบายสีเทียน แบ่งออกเป็น 3 วิธี
1. การระบายเป็นเส้นตรงแนวตั้ง
2. การระบายเป็นเส้นตรงแนวเฉียง
3. ระบายเป็นเส้นขดวกไปวนมา
ตัวอย่างเทคนิคการระบายสีไม้
ตัวอย่างเทคนิคการวาดภาพต้นไม้ด้วยสีน้ำ
ตัวอย่างเทคนิคการระบายสีโปสเตอร์กลางวันและกลางคืน
ตัวอย่างเทคนิคการวาดภาพพระอาทิตย์ตกดินด้วยสีเทียน
1. การระบายจากสีแก่ไปหาสีอ่อน เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงเงาเข้มของภาพก่อนแล้วค่อยลดน้ำหนักให้อ่อนจางลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักอ่อนลงตามลำดับ มาผสมเพิ่มเข้าไปทีละน้อยในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี เพื่อให้ภาพสว่างกลมกลืนกัน
2. การระบายจากสีอ่อนไปหาสีแก่ เป็นการระบายสีโดยคำนึงถึงส่วนสว่างหรือส่วนที่ได้รับแสงก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักให้เข้มขึ้นทีละน้อยด้วยการผสมสีดำหรือสีตรงกันข้ามหรือสีใกล้เคียงกันในวงจรสีที่มีน้ำหนักเข้มขึ้นตามลำดับในลักษณะของการไล่น้ำหนักสี
ลักษณะของสี ประเภท สีเทียน
สีเทียน (encaustic) มีลักษณะเป็นสีเคลือบ เกิดจากสีแท้ของวัตถุธาตุผสมกับขี้ผึ้งซึ่งนำมาหลอมเข้าด้วยกัน โดยใส่ไว้ในแม่พิมพ์รูปแท่งขนาดเหมาะมือ หลังจากปล่อยให้ขี้ผึ้งผสมสีแห้งแล้วก็จะแข็งตัวเกิดเป็นแท่งสีขี้ผึ้ง ต่อมาเปลี่ยนจากการผสมระหว่างสีและขี้ผึ้งเป็นสีกับเทียนซึ่งมีราคาถูกกว่าจึงเรียกกันติดปากว่า สีเทียน สีเทียนมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่ละลายน้ำและน้ำมัน จึงไม่เปรอะเปื้อนมือเวลาใช้ เหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มหัดวาดภาพระบายสี เพราะแท่งสีเทียนหยิบจับได้สะดวก และง่ายต่อการระบายตลอดจนสามารถระบายสีทับซ้อนกันได้ด้วย
วิธีการใช้สีเทียน
การใช้สีเทียนมีวิธีการจับและเขียนเหมือนกับวิธีการจับดินสอดำเขียนหนังสือ ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับแน่นพอประมาณ โดยมีนิ้วกลางรองอยู่ใต้แท่งสีส่วนสองนิ้วที่เหลือวางรองอยู่ที่พื้นกับสันมือเพื่อลากเส้นยาวๆและฝนสีได้คล่องส่วนวิธีปาดเศษสีหักนั้นเหมาะที่จะใช้ปาดสีบนพื้นที่กว้างโดยใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลางจับแท่งสี ส่วนนิ้วที่เหลือปล่อยอิสระแล้วคว่ำมือลงเพื่อปาดสีลงไปในภาพให้สวยงาม
วิธีการระบายสีเทียน แบ่งออกเป็น 3 วิธี
1. การระบายเป็นเส้นตรงแนวตั้ง
2. การระบายเป็นเส้นตรงแนวเฉียง
3. ระบายเป็นเส้นขดวกไปวนมา
ตัวอย่างเทคนิคการระบายสีไม้
ตัวอย่างเทคนิคการวาดภาพต้นไม้ด้วยสีน้ำ
ตัวอย่างเทคนิคการวาดภาพพระอาทิตย์ตกดินด้วยสีเทียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น